Skip to main content
Surveillance
Self-Defense

การติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น

อัปเดตครั้งล่าสุด: January 12, 2017

This page was translated from English. The English version may be more up-to-date.

เครือข่ายโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตทำให้ผู้คนติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้มีการถูกสอดส่องมากกว่าที่เคยมีมาในประวัติของมนุษยชาติเช่นกัน หากไม่ดำเนินการใดๆ เพิ่มเติม เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวของคุณ การโทรศัพท์ ข้อความ SMS อีเมล ข้อความโต้ตอบแบบทันที การสนทนาผ่าน IP (VoIP) การสนทนาทางวิดีโอ และข้อความบนสื่อสังคมทั้งหมดก็อาจเสี่ยงต่อการถูกดักฟังหรือดักจับข้อมูล

โดยส่วนใหญ่ วิธีการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น คือการติดต่อสื่อสารกันแบบเจอตัวกัน โดยไม่มีคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เข้ามาเกี่ยวข้องเลย แต่เนื่องจากเราไม่สามารถไปเจอกันได้ตลอด วิธีที่ดีที่สุดรองลงมาก็คือใช้การเข้ารหัสตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง (end-to-end encryption ) เมื่อต้องติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่าย ถ้าคุณต้องการป้องกันเนื้อหาของการติดต่อสื่อสารของคุณ

การเข้ารหัสตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง (end-to-end encryption) มีวิธีการทำงานอย่างไร? anchor link

เมื่อคนสองคนต้องการติดต่อสื่อสารกันอย่างปลอดภัย (สมมุติอย่างเช่น Akiko และ Boris) พวกเขาต้องสร้างคีย์รหัสลับของตัวเองขึ้นมา ก่อนที่ Akiko จะส่งข้อความให้กับ Boris เธอได้เข้ารหัสข้อความของเธอด้วยคีย์ของ Boris เพื่อจะได้มีแค่ Boris คนเดียวเท่านั้นที่สามารถถอดรหัสได้ จากนั้น เธอก็ส่งข้อความที่เข้ารหัสลับแล้วผ่านทางอินเทอร์เน็ต ถ้ามีใครคอยดักจับข้อมูลของ Akiko และ Boris ถึงแม้ผู้ไม่หวังดีจะสามารถเข้าถึงบริการที่ Akiko ใช้เพื่อส่งข้อความนี้ (เช่น บัญชีผู้ใช้อีเมลของเธอ) ผู้ไม่หวังดีก็จะเห็นเฉพาะข้อมูลที่เข้ารหัสไว้เท่านั้น และจะไม่สามารถอ่านข้อความนั้นได้ เมื่อ Borris ได้รับข้อความ เขาต้องใช้คีย์ของเขาเพื่อถอดรหัสข้อความนั้น ให้เป็นข้อความที่สามารถอ่านได้

การเข้ารหัสตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางเป็นเรื่องของความพยายาม แต่เป็นเพียงวิธีเดียวที่ผู้ใช้จะสามารถยืนยันความปลอดภัยของการติดต่อสื่อสารของพวกเขาได้ โดยไม่ต้องเชื่อใจแพลตฟอร์มที่พวกเขาทั้งคู่ใช้งานอยู่ บริการบางตัว อย่างเช่น Skype ได้กล่าวอ้างว่าจะเสนอการเข้ารหัสตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางในบริการของพวกเขา ในขณะที่จริงๆ แล้วพวกเขาไม่ได้ทำ เพื่อให้การเข้ารหัสตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางมีความปลอดภัย ผู้ใช้ต้องสามารถยืนยันความถูกต้องของคีย์รหัสลับที่พวกเขาใช้เพื่อเข้ารหัสข้อความ เป็นคีย์ของผู้ที่เขาเชื่อว่าเป็นเจ้าของคีย์จริงๆ ถ้าซอฟต์แวร์การติดต่อสื่อสารไม่มีความสามารถนี้ติดตั้งอยู่ การเข้ารหัสที่จะใช้ก็อาจถูกดักจับข้อมูลโดยผู้ให้บริการเอง เช่นอาจถูกรัฐบาลบังคับให้ทำ

คุณสามารถอ่านรายงานเป็นทางการเรื่อง งานการเข้ารหัส ของ Freedom of the Press Foundation เพื่อดูคำแนะนำโดยละเอียด เกี่ยวกับวิธีใช้งานการเข้ารหัสตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง เพื่อป้องกันข้อความโต้ตอบแบบทันทีและอีเมล ให้แน่ใจว่าคุณได้อ่านหัวข้อต่อไปนี้ของ SSD ด้วย:

การโทรด้วยเสียง anchor link

เมื่อคุณโทรออกจากโทรศัพท์พื้นฐานหรือโทรศัพท์มือถือ การโทรของคุณไม่ได้เข้ารหัสตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ถ้าคุณใช้โทรศัพท์มือถือ การโทรของคุณอาจถูกเข้ารหัส (ที่เจาะได้ง่าย) ระหว่างโทรศัพท์มือถือของคุณและเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ อย่างไรก็ตาม เมื่อการสนทนาของคุณเดินทางผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ การสนทนาของคุณก็มีความเสี่ยงต่อการถูกดักฟังโดยบริษัทโทรศัพท์ของคุณ หรือโดยรัฐบาลหรือองค์กรที่มีอำนาจควบคุมบริษัทโทรศัพท์ของคุณ วิธีที่ง่ายที่สุดในการทำให้แน่ใจว่าคุณมีการเข้ารหัสตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางสำหรับการสนทนาด้วยเสียง ก็คือใช้การสนทนาผ่าน IP (VoIP) แทน

ระวัง! โดยส่วนใหญ่ ผู้ให้บริการการสนทนาผ่าน IP (VoIP) ซึ่งได้รับความนิยมสูง อย่างเช่น Skype และ Google Hangouts เสนอการเข้ารหัสสายการสนทนา เพื่อไม่ให้ผู้ที่ดักฟังสามารถฟังได้ แต่the ตัวผู้ให้บริการเองยังสามารถฟังได้อยู่ ประเด็นนี้อาจเป็นปัญหาหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับโมเดลภัยคุกคามของคุณ

ตัวอย่างของบริการที่เสนอการสนทนาผ่าน IP (VoIP) ที่เข้ารหัสตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ได้แก่:

ในการสนทนาผ่าน IP (VoIP) ที่เข้ารหัสตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง คู่สทนาทั้งสองฝ่ายต้องใช้ซอฟต์แวร์เดียวกัน (หรือที่เข้ากันได้)

ข้อความ SMS anchor link

ข้อความ (SMS) มาตรฐานไม่มีการเข้ารหัสจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง หากคุณต้องการส่งข้อความที่มีการเข้ารหัสโดยใช้โทรศัพท์ของคุณ ให้พิจารณาใช้ซอฟต์แวร์การส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีแบบเข้ารหัสแทนการส่งข้อความแบบปกติ

บางบริการของบริการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีที่มีการเข้ารหัสใช้โปรโตคอลของตนเอง ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ Signal บนระบบปฏิบัติการ Android และ iOS สามารถสื่อสารกับผู้อื่นที่ใช้โปรแกรมดังกล่าวได้อย่างปลอดภัย ChatSecure เป็นแอพมือถือที่ทำการเข้ารหัสการสนทนากับ OTR ในทุกเครือข่ายที่ใช้ XMPP ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถเลือกได้จากตัวเลือกจำนวนมากของบริการอิสระในการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันที"

ข้อความโต้ตอบแบบทันที anchor link

การเข้ารหัสคำสนทนา (OTR) คือโพรโทคอลการเข้ารหัสตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง สำหรับการรับส่งข้อความในเวลาจริง ซึ่งสามารถใช้กับบริการต่างๆ ได้หลากหลาย

ตัวอย่างของเครื่องมือที่รวม OTR เข้ากับการรับส่งข้อความโต้ตอบแบบทันที ได้แก่:

อีเมล anchor link

ผู้ให้บริการอีเมลส่วนใหญ่เปิดให้คุณสามารถเข้าใช้งานอีเมลของคุณ โดยใช้เว็บเบราว์เซอร์ อย่างเช่น Firefox หรือ Chrome ผู้ให้บริการเหล่านี้ส่วนใหญ่สนับสนุน HTTPS หรือการเข้ารหัสในทรานสปอร์ตเลเยอร์ (Transport Layer) คุณสามารถบอกได้ว่าผู้ให้บริการอีเมลของคุณสนับสนุน HTTPS ถ้าคุณเข้าสู่ระบบเว็บเมลของคุณ และ URL ที่ด้านบนสุดของเบราว์เซอร์ของคุณ ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร HTTPS แทนที่จะเป็น HTTP (ตัวอย่างเช่น: https://mail.google.com)

ถ้าผู้ให้บริการอีเมลของคุณสนับสนุน HTTPS แต่ไม่ได้ทำให้เป็นค่าเริ่มต้น ให้คุณลองเปลี่ยน HTTP เป็น HTTPS ในช่อง URL แล้วรีเฟรชเพจนั้น ถ้าคุณต้องการทำให้แน่ใจว่าคุณได้ใช้ HTTPS ทุกครั้ง สำหรับทุกไซต์ที่สนับสนุน ให้ดาวน์โหลดโปรแกรมเสริมของเบราว์เซอร์ HTTPS Everywhere สำหรับ Firefox หรือ Chrome

ตัวอย่างของผู้ให้บริการเว็บเมลที่ใช้ HTTPS ตามค่าเริ่มต้น ได้แก่:

  • Gmail
  • Riseup
  • Yahoo

ผู้ให้บริการเว็บเมลบางรายมีตัวเลือกให้คุณเลือกได้ว่าต้องการใช้ HTTPS เป็นค่าเริ่มต้นหรือไม่ โดยให้คุณเลือกในการตั้งค่าของคุณ บริการยอดนิยมที่ยังคงทำเช่นนี้ ได้แก่ Hotmail

การเข้ารหัสในทรานสปอร์ตเลเยอร์ทำอะไรบ้าง และเหตุใดคุณจึงอาจต้องการใช้? HTTPS หรือที่เรียกกันว่า SSL หรือ TLS เข้ารหัสการติดต่อสื่อสารของคุณ เพื่อที่คนอื่นๆ บนเครือข่ายของคุณจะได้ไม่สามารถอ่านได้ คนอื่นๆ ในที่นี้อาจรวมถึง คนอื่นๆ ที่ใช้เครือข่าย Wi-Fi เดียวกันกับคุณที่ท่าอากาศยานหรือร้านกาแฟ หรือคนอื่นๆ ที่สำนักงานหรือโรงเรียนของคุณ ผู้ดูแลที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ของคุณ แฮกเกอร์ที่ประสงค์ร้าย เจ้าหน้าที่รัฐบาล หรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย การติดต่อสื่อสารที่ส่งผ่านเว็บเบราว์เซอร์ของคุณ รวมถึงเว็บเพจที่คุณเยี่ยมชม และเนื้อหาของอีเมลของคุณ โพสต์บนเว็บบล็อก และข้อความต่างๆ ที่ใช้ HTTP แทนที่จะใช้ HTTPS ได้เปิดช่องให้ผู้โจมตีสามารถดักฟังและอ่านข้อมูลได้อย่างง่ายดาย

HTTPS คือระดับการเข้ารหัสที่เป็นพื้นฐานมากที่สุดสำหรับการท่องเว็บของคุณ ซึ่งเราขอแนะนำให้ทุกคนใช้ นี่เป็นพื้นฐานเหมือนกับที่คุณคาดเข็มขัดนิรภัยเมื่อคุณขับรถ

แต่ก็มีบางสิ่งที่ HTTPS ไม่ได้ทำ นั่นคือ เมื่อคุณส่งอีเมลโดยใช้ HTTPS ผู้ให้บริการอีเมลของคุณจะยังคงได้รับสำเนาของการติดต่อสื่อสารที่ไม่ได้เข้ารหัสของคุณอยู่ รัฐบาลและหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายอาจสามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ได้ หากมีหมายค้น ในสหรัฐอเมริกา ผู้ให้บริการอีเมลส่วนใหญ่มีนโยบายที่ระบุว่า พวกเขาจะแจ้งให้คุณทราบเมื่อพวกเขาได้รับคำขอจากรัฐบาลให้ส่งมอบข้อมูลของคุณ ภายในขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาตให้พวกเขาทำได้ แต่นโยบายเหล่านี้เป็นไปด้วยความสมัครใจ และมีหลายกรณีที่ผู้ให้บริการอีเมลถูกกีดกันทางกฎหมาย ไม่ให้แจ้งให้ผู้ใช้ทราบเกี่ยวกับการขอข้อมูล ผู้ให้บริการอีเมลบางราย อย่างเช่น Google, Yahoo และ Microsoft ได้เผยแพร่รายงานความโปร่งใส โดยชี้แจงรายละเอียด ว่าพวกเขาได้รับคำร้องขอข้อมูลของผู้ใช้จากรัฐบาลจำนวนกี่ครั้ง ประเทศใดบ้างที่ส่งคำร้องขอดังกล่าว และทางบริษัทต้องจำยอมส่งมอบข้อมูลให้กับรัฐบาลบ่อยครั้งเพียงใด

ถ้าโมเดลภัยคุกคามของคุณรวมถึงรัฐบาลหรือหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย หรือคุณมีเหตุผลอื่นที่ต้องการแน่ใจว่าผู้ให้บริการอีเมลของคุณจะไม่สามารถส่งมอบเนื้อหาของการติดต่อสื่อสารทางอีเมลของคุณให้กับบุคคลภายนอกได้ คุณอาจพิจารณาใช้การเข้ารหัสตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางสำหรับการติดต่อสื่อสารทางอีเมลของคุณ

PGP (หรือ Pretty Good Privacy ) คือมาตรฐานสำหรับการเข้ารหัสอีเมลของคุณตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง หากใช้งานอย่างถูกต้อง PGP จะเป็นเกราะป้องกันที่แข็งแกร่งมากสำหรับการติดต่อสื่อสารของคุณ หากต้องการอ่านคำแนะนำโดยละเอียด เกี่ยวกับวิธีการติดตั้งและใช้งานการเข้ารหัส PGP สำหรับอีเมลของคุณ กรุณาดูที่:

สิ่งที่การเข้ารหัสตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง (End-To-End Encryption) ไม่ได้ทำ anchor link

การเข้ารหัสตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางช่วยป้องกันเนื้อหาของการติดต่อสื่อสารของคุณเท่านั้น แต่ไม่ได้ป้องกันการติดต่อสื่อสารของคุณ PGP ไม่ได้ป้องกันเมตาดาต้า (Metadata ) ของคุณ ซึ่งก็คือข้อมูลอื่นๆ ทั้งหมด รวมทั้ง บรรทัดหัวเรื่องของอีเมลของคุณ หรือผู้ที่คุณติดต่อสื่อสารด้วย และเวลาที่ติดต่อสื่อสาร

เมตาดาต้าสามารถเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับคุณได้อย่างมาก ถึงแม้ว่าเนื้อหาของการติดต่อสื่อสารของคุณจะยังคงเป็นความลับอยู่ก็ตาม

เมตาดาต้าเกี่ยวกับการโทรศัพท์ของคุณอาจให้ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนและเป็นส่วนตัวมากๆ ได้ ตัวอย่างเช่น:

  • พวกเขารู้ว่าคุณโทรใช้บริการเซ็กซ์โฟน เมื่อเวลา 2:24 น. และพูดสายนาน 18 นาที แต่พวกเขาไม่รู้ว่าคุณพูดสายเกี่ยวกับเรื่องอะไร
  • พวกเขารู้ว่าคุณโทรหาสายด่วนป้องกันการฆ่าตัวตายจากสะพานโกลเด้นเกต แต่หัวข้อของการสนทนายังคงเป็นความลับ
  • พวกเขารู้ว่าคุณพูดสายกับเจ้าหน้าที่ให้บริการตรวจเอชไอวี จากนั้นก็พูดสายกับแพทย์ของคุณ และบริษัทประกันชีวิตของคุณในชั่วโมงเดียวกัน แต่พวกเขาไม่รู้ว่าพวกคุณปรึกษากันเรื่องอะไร
  • พวกเขารู้ว่าคุณได้รับสายจากสำนักงาน NRA ในท้องถิ่น ในขณะที่มีการรณรงค์ต่อต้านการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับปืน และหลังจากวางสายของคุณ เจ้าหน้าที่ผู้นี้ก็โทรหาสมาชิกวุฒิสภาและผู้แทนสภานิติบัญญัติของคุณทันที อย่างไรก็ตามเนื้อหาของการโทรเหล่านั้นยังคงปลอดภัยจากการสอดแนมของรัฐบาล
  • พวกเขารู้ว่าคุณโทรหานรีแพทย์ และพูดสายอบู่นานครึ่งชั่วโมง จากนั้น คุณก็โทรหาสมาคมวางแผนครอบครัวในท้องถิ่นในวันเดียวกันนั้น แต่ไม่มีใครรู้ว่าคุณพูดสายเกี่ยวกับเรื่องอะไร

ถ้าคุณโทรจากโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลเกี่ยวกับพิกัดตำแหน่งของคุณก็คือเมตาดาต้า ในปี พ.ศ. 2552 นาย Malte Spitz นักการเมืองของพรรค Green Party ได้ยื่นฟ้องบริษัท Deutsche Telekom เพื่อบังคับให้บริษัทส่งมอบข้อมูลโทรศัพท์ของนาย Spitz ในช่วงเวลา 6 เดือน ซึ่งภายหลังเขาได้นำไปเผยแพร่ให้กับหนังสือพิมพ์ของ German ผลลัพธ์ของการแสดงข้อมูลด้วยภาพ ได้แสดงให้เห็นถึงประวัติความเคลื่อนไหวของนาย Spitz โดยละเอียด

การป้องกันเมตาดาต้าของคุณ คุณจะต้องใช้เครื่องมืออื่นๆ อย่างเช่น Tor ไปพร้อมๆ กับการเข้ารหัสตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง

หากต้องการดูตัวอย่างว่า Tor และ HTTPS ทำงานร่วมกันอย่างไร เพื่อป้องกันเนื้อหาของการติดต่อสื่อสารของคุณและเมตาดาต้าของคุณ จากผู้ที่อาจเป็นผู้โจมตีหลากหลายประเภท คุณอาจต้องการดูที่คำอธิบายนี้